• 074 307 100-1
  • จ. - ศ. 8.00 - 16.00 น.
  • ฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง

รพช.ที่มีคุณภาพ

ประชาชนมีส่วนร่วม

เจ้าหน้าที่มีความสุข

โทรด่วน : 074 377 100-1

รู้เรื่อง ไข้มาลาเรีย

ที่มา : คู่มือรู้ทันโรคและภัยสุขภาพสำหรับประชาชน โดยสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

“ไข้มาลาเรีย” เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อพลาสโมเดียม โดยมียุงก้นปล่องซึ่งมักอาศัยอยู่ตามป่าเขาเป็นพาหะ เมื่อยุงก้นปล่องตัวเมียที่มีเชื้อกัดคน ยุงจะปล่อยเชื้อจากต่อมน้ำลายเข้าสู่กระแสเลือดของคน ซึ่งจะใช้ระยะฟักตัวระหว่าง 10-14 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ

เชื้อจะเข้าสู่ตับและแตกออกจากตับเข้าสู่วงจรในเม็ดโลหิตแดง ระยะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการของโรคคือ มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะเป็นพัก ๆ ในเวลาเดิม ๆ  หากไปพบแพทย์ทันก็สามารถรักษาหายได้ด้วยการทานยาไม่กี่วัน แต่หากไปพบแพทย์ช้าอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง ภาวะปอดบวมน้ำ ภาวะไตวาย ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้

การป้องกันโรคไข้มาลาเรีย

เนื่องจากในประเทศไทยมีปัญหาเชื้อมาลาเรียดื้อยาต่อยารักษาหลายขนาด จึงไม่แนะนำให้ใช้ยาป้องกัน การป้องกันตนเองจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดดังนี้

1. การนอนในมุ้ง มุ้งที่ใช้ควรอยู่ในสภาพดีไม่มีรูขาดและเสียหายในพื้นที่แพร่เชื้อมาลาเรีย ควรนำมุ้งไปชุบสารเคมีที่มีฤทธิ์ไล่และฆ่ายุง

2. การใช้ยาทากันยุงในการป้องกันไม่ให้ยุงมากัด

3. การใช้ยาจุดกันยุง เมื่อใช้จุดไฟแล้วสามารถระเหยสารออกฤทธิ์ขับไล่และฆ่ายุงได้

4. การสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด เช่น ใช้เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เป็นต้น

เมื่อพบว่ามีการติดเชื้อมาลาเรีย ผู้ป่วยต้องได้รับยาและการรักษาตามอาการ ในกรณีอาการไม่หนัก ไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การใช้ยารักษาโรคไข้มาลาเรียจะจำแนกตามชนิดเชื้อและจะต้องรับประทานยาให้ครบตามจำนวนที่แพทย์แนะนำ

ระบุคำที่ต้องการค้นหา ?