• 074 307 100-1
  • จ. - ศ. 8.00 - 16.00 น.
  • ฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง

รพช.ที่มีคุณภาพ

ประชาชนมีส่วนร่วม

เจ้าหน้าที่มีความสุข

โทรด่วน : 074 377 100-1

เกี่ยวกับโรงพยาบาล

About Our Hospital

เกี่ยวกับโรงพยาบาล

เกี่ยวกับเรา

โรงพยาบาลสะบ้าย้อย | Sabayoi Hospital

โรงพยาบาลสะบ้าย้อยตั้งอยู่ เลขที่ 2/17 ม.1 ต.สะบ้าย้อย อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา มีเนื้อที่ทั้งหมด 17 ไร่ เปิดดำเนินการให้บริการรักษาพยาบาลเมื่อ วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 โดยเป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง และต่อมาได้ยกฐานะเป็น โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ขนาด 30 เตียง เมื่อเดือนมิถุนายน 2535

โรงพยาบาลสะบ้าย้อยตั้งอยู่ใน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา อันเป็น 1 ใน 4 อำเภอ ชายแดน ของจังหวัดสงขลา ที่มีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้น บ่อย และจัดได้ว่าเป็นพื้นที่สีแดงโดยระยะทางระหว่าง โรงพยาบาลสะบ้าย้อย กับ โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ ห่างกัน ประมาณ 110 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาในการ ส่งต่อผู้ป่วย ประมาณ 1 ขั่วโมง และห่างจากโรงพยาบาลสงขลา ประมาณ 100 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาในการ ส่งต่อผู้ป่วย ประมาณ 1 ขั่วโมง และห่างจากโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 102 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาในการ ส่งต่อผู้ป่วย ประมาณ 1 ขั่วโมงเช่นกัน โดยประชากรส่วนใหญ่ (70%) นับถือ ศาสนา อิสลาม และ 30% นับถือศาสนาพุทธ ส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม สวนยางพาราเป็นหลัก

กรอบแนวทางแผนยุทธศาสตร์โรงพยาบาลสะบ้าย้อย 2566-2570

วิสัยทัศน์ (Vision)

ประชาชนสุขภาพดี  ภาคีพหุวัฒนธรรม ก้าวทันเทคโนโลยี เจ้าหน้าที่มีความสุข

ความหมายของวิสัยทัศน์

1.ประชาชนสุขภาพดี หมายถึง ประชาชนชาวอำเภอสะบ้าย้อย มีสุขภาวะทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณที่สมบูรณ์แข็งแรง

2.ภาคีพหุวัฒนธรรม หมายถึง ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัด โรงเรียน ชุมชน ชมรมสุขภาพ องค์กรภาคประชาชน และภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ สนับสนุนประชาชนในพื้นที่ให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสมและสามารถพึ่งพาตนเองได้

3.ก้าวทันเทคโนโลยี หมายถึง การนำเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้สนับสนุนในระบบบริการสุขภาพ ระบบสนับสนุนในองค์กร

4.เจ้าหน้าที่มีความสุข หมายถึง เจ้าหน้าที่มีสมรรถนะ มีคุณธรรมจริยธรรม และความสุขในการทำงาน

พันธกิจ (Mission)

  1. ให้บริการรักษา ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูสุขภาพ แบบองค์รวมที่มีมาตรฐานและปลอดภัย
  2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาพ
  3. พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะและเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุข
  4. พัฒนาคุณภาพสารสนเทศและสนับสนุนระบบบริการ

ยุทธศาสตร์

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบบริการ (Service Plan, HA, HAIT และศูนย์เครื่องมือแพทย์)
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมบุคลากรให้มีคุณธรรมจริยธรรมและเป็นองค์กรแห่งความสุข
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4 มิติ โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายสุขภาพ

เป้าประสงค์

  • ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ
  • องค์กรแห่งความสุข
  • ประชาชนสุขภาพดี

กลยุทธ์

  • พัฒนาระบบบริการสุขภาพผ่านมาตรฐาน
  • พัฒนาระบบบริการสุขภาพตาม Service Plan
  • พัฒนาระบบศูนย์เครื่องมือที่มีคุณภาพ
  • ส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสู่ความเป็นเลิศ
  • ส่งเสริมและพัฒนาดัชนีความสุขของบุคลากร 9 ด้าน
  • ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากร
  • พัฒนาสิ่งแวดล้อมและสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
  • พัฒนาแกนนำ/เครือข่ายสุขภาพ
  • พัฒนาระบบการเข้าถึงบริการสุขภาพ
  • ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ 4 มิติ
  • พัฒนาชุมชนต้นแบบด้านการจัดการสุขภาพ

หลักการทำงาน (Core Values)

ค่านิยมร่วมขององค์กร (Core Values) : i-SBY

I: Information & Innovation

ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์สิ่งใหม่ มีการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาใช้

S: Service Mind & Spiritual

บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

B: Best practice & Balance

บุคลากรมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีความสมดุลในชีวิตและหน้าที่การงาน

Y: Your Partner

ร่วมสร้างภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็ง

นโยบายของผู้บริหาร

1. ด้านการบริการ พัฒนาระบบบริการของโรงพยาบาลให้มีคุณภาพมาตราฐานวิชาชีพ ให้ความมั่นใจและสนองตอบความต้องการของผู้รับบริการ สนับสนุนให้มีการพัฒนาศักยภาพบุคคลากร เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ทันสมัยและมีเทคโนโลยีการแพทย์ที่เหมาะสม จัดอาคารสถาณที่ที่เหมาะสมต่อการให้บริการมีความสะอาดปลอดภัย มีความสะดวกคล่องตัวในการเข้ารับบริการ

2. ด้านการบริหาร ใช้หลักธรรมาภิบาล สร้างเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การบริหารที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ความโปร่งใส ประหยัด มีคุณภาพ ภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์ทางราชการและมีระบบคุณธรรมในการบริหารจัดการบุคลากร

3. ด้านการเงินการคลัง เพิ่มรายรับ ลดรายจ่าย มีระบบบริหารการเงินการคลังที่มีประสิทธิภาพ

4. ด้านสังคม มุ้งเน้นความสมัครสมานสามัคคี มีจริยธรรม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของชุมชนหรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่

5. ด้านภาคีเครือข่ายสุขภาพ สร้างความร่วมมือในเครือข่าย มีแนวทางในการดำเนินงานสาธารณสุข ทั้งเชิงรุก เชิงรับและในภาวะวิกฤต พัฒนาระบบการส่งต่อ การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรคที่สำคัญในพื้นที่ของเครือข่ายสุขภาพ พัฒนาระบบที่เชื่อมโยงกันได้ทั้งเครือข่าย มีระบบบริหารจัดการการเงิน การคลังและบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและเป็นธรรม

6. ด้านความมั่นคงของโรงพยาบาล เน้นระบบความปลอดภัยบริหารความเสี่ยงและการเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ให้บริการและผู้มารับบริการ มุ่งเน้นการพัฒนาพฤติกรรมบริการของบุคลากรโรงพยาบาลเพื่อลดปัญหาข้อร้องเรียนผู้ให้บริการและผูมารับบริการเกิดความพอใจ

30

จำนวนเตียง

400

ผู้ป่วยนอก/วัน

30

ผู้ป่วยใน/วัน

7

แพทย์

ระบุคำที่ต้องการค้นหา ?